สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 5-11 มิถุนายน 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์เบื้องต้น ณ เดือนพฤศจิกายน 2565
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.898 ล้านไร่ ผลผลิต 27.013 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 429 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับ
ปีการผลิต 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.917 ล้านไร่ ผลผลิต 26.703 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 424 กิโลกรัม พบว่าเนื้อที่เพาะปลูก ลดลงร้อยละ 0.03 ส่วนผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.16 และร้อยละ 1.18 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากคาดว่าเกษตรกรปรับเปลี่ยนที่นาบางส่วนไปปลูกพืชอื่นที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า
เช่น มันสำปะหลัง แต่เนื้อที่ลดลงไม่มาก เพราะเกษตรกรยังคงคาดหวังว่ารัฐบาลจะมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหมือนที่ผ่านมา สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ คาดว่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว จึงส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตข้าวทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ เดือนมิถุนายน 2566 คาดว่ามีการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2566/67 จำนวน 22.924 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 36.45 ของเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมด และตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566 คาดว่ามีการเพาะปลูกข้าวนาปี จำนวน 43.913 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 69.82 ของเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.746 ล้านไร่ ผลผลิต 7.614 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.547 ล้านไร่ ผลผลิต 6.171 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 646 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.03 ร้อยละ 23.39 และร้อยละ 0.31 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีมากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักและปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยาย
เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอ
ต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เดือนมิถุนายน 2566 คาดว่ามีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2566 ปริมาณ 0.542 ล้านตัน หรือคิดเป็น
ร้อยละ 7.12 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน 2566 คาดว่ามีการเก็บเกี่ยวผลผลิต
ปริมาณ 7.300 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 95.88 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,790 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,679 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,887 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,964 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,950 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,990 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 871 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,937 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 863 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,626 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 311 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 507 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,426 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 511 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,542 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 116 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 513 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,632 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 517 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,748 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 116 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3711 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 อินเดีย
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (the India Meteorological Department: IMD) ได้คาดการณ์ปริมาณฝนจากลมมรสุมที่จะพัดเข้าทางชายฝั่งของรัฐ Kerala (รัฐเกรละ เป็นรัฐที่อยู่ใต้สุดของประเทศอินเดียฝั่งตะวันตก) ล่าช้ากว่าเมื่อปี 2565 ประมาณ 2-3 วัน เนื่องจากมีการก่อตัวของพายุหมุนในทะเลอาหรับ
(the Arabian Sea) การที่ฤดูมรสุมเริ่มต้นช้า อาจส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกข้าว ฝ้าย ข้าวโพด ถั่วเหลือง และอ้อย ซึ่งปกติฤดูมรสุมมีระยะเวลาประมาณ 4 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายนของทุกปี ทั้งนี้ฝนจากลมมรสุม
มีความสำคัญต่อการเกษตรของอินเดีย ซึ่งภาวะที่ฝนตกชุกจะส่งผลดีต่อการเพาะปลูกพืช เช่น ข้าว ถั่วเหลือง และฝ้าย เนื่องจากพื้นที่การเกษตรของอินเดียครึ่งหนึ่งไม่ครอบคลุมระบบชลประทาน จำเป็นต้องอาศัยน้ำฝนจากลมมรสุมเพื่อปลูกพืชหลากหลายชนิด อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศ คาดการณ์ว่าจะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ
(the El Nino weather phenomenon) ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2566 ซึ่งอาจจะกระทบต่อภาวะฝนทิ้งช่วงจาก
ลมมรสุมได้
กระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร (the Ministry of Agriculture and Farmers Welfare: MOAFW) รายงานว่า ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2566 เกษตรกรเริ่มเพาะปลูกข้าวฤดูการผลิตหลัก หรือ the Kharif crop ในปีการผลิต 2566/67 (มิถุนายน-กันยายน 2566) ประมาณ 17.82 ล้านไร่ ลดลงจาก 18.96 ล้านไร่ ในช่วงเดียวกันของปีการผลิต 2565/66 หรือลดลงร้อยละ 6 สำหรับผลผลิตข้าวสาลี ฤดูการผลิต the Rabi season ในปีการผลิต 2565/66 (พฤศจิกายน 2565-พฤษภาคม 2566) คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 112.743 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 107.742 ล้านตัน เมื่อปีการผลิต 2564/65 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.64 ทั้งนี้ อินเดียปลูกข้าวสาลีได้เพียงปีละหนึ่งครั้ง โดยปลูกในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2.2 กัมพูชา
สำนักข่าว The Phnom Penh Post รายงานว่า เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ผู้แทนสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodia Rice Federation: CRF) จัดประชุมออนไลน์ร่วมกับบริษัท Green Trade Company และบริษัท China Oil and Foodstuffs Corporation (COFCO) ของทางการจีน โดยที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาข้อตกลงที่จะให้บริษัท COFCO ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีน เพิ่มโควตาซื้อข้าวสารจากปีละ 400,000 ตัน เป็นปีละ 500,000 ตัน และหากการเจรจาตามข้อตกลงประสบความสำเร็จ จะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandums of Understanding: MOU) ฉบับที่ 7 ทำให้กัมพูชาส่งออกข้าวได้ประมาณปีละ 1 ล้านตัน โดยประเทศจีนเป็นผู้ซื้อข้าวสารรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา และในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2566 กัมพูชาส่งออกข้าวไปจีน ปริมาณ 84,773 ตัน คิดเป็นร้อยละ 48.01 รองลงมา ได้แก่ สหภาพยุโรป ปริมาณ 56,313 ตัน คิดเป็นร้อยละ 31.89 และอาเซียน ปริมาณ 9,920 ตัน คิดเป็นร้อยละ 5.62 ของการส่งออกข้าว
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.92 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้
ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.77 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.51 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 366.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,633.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 370.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,745.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08 และลดลง
ในรูปของเงินบาทตันละ 112.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 605.00 เซนต์ (8,315.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 597.00 เซนต์ (8,203.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 112.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.815 ล้านตัน (ร้อยละ 2.49 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (รอยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังเปิดดำเนินการตามปกติ และมีเชื้อแป้งมันสำปะหลังเฉลี่ย 16-20%
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.87 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.95 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.71
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.09 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.17 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.12
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.42 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.83
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.40 บาท ราคาคงตัวที่กิโลกรัมละ 18.40 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 264 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,180 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่ 266.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,260 บาทต่อตัน) คิดเป็นร้อยละ 0.98
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,550 บาทต่อตัน)  ราคาคงตัวที่ตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,550 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.548 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.279 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.704  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.307 ล้านตันของเดือนพฤษภาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 9.15 และร้อยละ 9.12 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.83 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.33 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.38
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.06 บาท ลดลงจาก กก.ละ 30.78 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.34 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ประธานาธิบดีอินโดนีเซียเรียกร้องให้มาเลเซียเข้าร่วมในการต่อสู้ในประเด็นการเลือกปฏิบัติ (Discrimination) ภายใต้ร่างกฎหมายของสหภาพยุโรปที่ห้ามนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการบุกรุกป่า นอกจากนี้ทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียยังได้ร่วมกันกำหนดกรอบการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,406.28 ริงกิตมาเลเซีย (26.07 บาท/กก.) ลดลงจากตัน 3,419.79 ริงกิตมาเลเซีย (26.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.40  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 883.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30.83 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 873.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30.47 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.09

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - กรมอุตุนิยมวิทยาของอินเดีย (IMD) รายงานว่า มรสุมฤดูฝนจะเข้าสู่รัฐเกรละ (Kerala) จะมาช้ากว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ 2 – 3 วัน เนื่องจากความกดอากาศต่ำในแถบทะเลอาหรับ โดยก่อนหน้านี้ IMD กล่าวว่า มรสุมฤดูฝนจะมาถึงในวันที่ 4 มิถุนายน และจะมีฝนเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม ด้านบริษัทที่ปรึกษา Archer Consulting รายงานว่า ตลาดน้ำตาลโลกต้องการข่าวใหม่ในเชิงบวกต่อตลาด เพื่อให้ราคาน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้นต่อไป และกล่าวเสริมว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) ทั้งความแห้งแล้งในประเทศไทย รวมถึงปัญหาฝนตกและความแออัดของท่าเรือในบราซิล อาจเป็นปัจจัยช่วยเพิ่มแรงกระตุ้นที่ตลาดน้ำตาลโลกต้องการ เพื่อไม่ให้เกิดการปรับฐานของราคาน้ำตาลโลก
           - กรมวิชาการเกษตรของประเทศอินเดีย รายงานว่า อินเดียมีพื้นที่ปลูกอ้อย อยู่ที่ 4.698 ล้านเฮกตาร์ เทียบกับจำนวน 4.667 ล้านเฮกตาร์ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในรัฐฉัตติสครห์ (Chhattisgarh) หน่วยงานของรัฐอยู่ระหว่างการดำเนินการส่งเสริมให้ชาวไร่หันมาปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น เพราะในรัฐมีการแข่งขันราคาข้าวเปลือก ด้านผู้สังเกตการณ์ตลาดมีความกังวลว่า รัฐบาลอินเดียอาจจะไม่ประกาศการส่งออกน้ำตาลใดๆ ก่อนเริ่มเปิดหีบในฤดูกาลหน้า และอาจไม่อนุญาตให้ส่งออกน้ำตาล เนื่องมาจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับปริมาณผลผลิต




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,362.6 เซนต์ (17.42 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,314.8 เซนต์ (16.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.64
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 400.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.95 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 395.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.34
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 51.54 เซนต์ (39.52 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 47.19 เซนต์ (36.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.22


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.40  บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.38
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.40 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.04
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,016.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,017.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.46 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 869.75 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 871.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.40 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,307.75 ดอลลาร์สหรัฐ (45.10 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,292.60 ดอลลาร์สหรัฐ (45.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 898.75 ดอลลาร์สหรัฐ (31.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 883.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.19 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,155.50 ดอลลาร์สหรัฐ (39.85 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,158.20 ดอลลาร์สหรัฐ (40.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.55 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.76 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.73 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,107 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,070 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.79 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,470 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,464 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  79.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.58 คิดเป็นร้อยละ 0.59 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 84.95 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.11 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 78.53 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 77.26 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็ก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.41 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 46.08 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 352 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 339 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 359 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.12 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 393 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 390 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.77 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 399 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 405 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 371 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 415 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 445 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 443 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 92.80 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 93.56 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.81 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.27 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 90.90 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 78.35 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 72.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 74.61 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.31 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 5 – 11 มิถุนายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ  
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.11 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 61.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.55 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.19 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.39 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 124.99 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.60 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท เนื่องจากตลาด
มีความต้องการบริโภคลดลง
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.34 บาท ราคาทรงตัวของสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา